วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมานำเสนอสื่อที่ได้ทำ   หน้าชั้นเรียนคะ


ชื่อสื่อ : จำนวนนับ
วิธีการเล่น : ให้นำตัวเลขที่ต้องการมาติดที่ช่องทางด้านซ้ายที่มีช่องเดียว แล้วนำภาพตัวการ์ตูนมาติดที่ช่องทางด้านขวาให้เท่ากับจำนวนเลขที่ติดทางด้านซ้าย อาจปรับเปลี่ยนเป็นติดตัวการ์ตูนก่อน แล้วค่อยติดตัวเลขที่หลังก็ได้



ประโยชน์ที่ได้จากการทำสื่อชิ้นนี้

1.ได้ฝึกการนับจำนวน
2.ได้ฝึกการสังเกตตัวเลข และจำนวนตัวการ์ตูน
3.ได้ฝึกกล้ามมือ ใช้จับตัวการ์ตูน        เพราะสื่อชิ้นนี้ค่อนข้างยากสำหรับเด็กจังทำให้เด็กได้ฝึกการคิดการสังเกตุในการเล่นสื่อชิ้นนี้ค่ะ
การนำไปใช้
1.สามารถนำไปประกอบการสอนในอนาคตได้
2.สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำสื่อการสอนชิ้นต่อไป
3.สามารถนำไปฝึกในการนับจำนวนได้


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...
         อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อเขียนแผนการสอนเกี่ยวกับวิชา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอ้างอิงจากกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
          ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เขียน เรื่อง การวัดความยาว คือ ให้เด็กนำสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ภายในห้อง หรือ อยู่รอบๆตัมาเป็นหน่วยในการวัด



 การนำความรู้ไปใช้...


1. สามารถนำเทคนิคมในการเขียนแผนการสอนไปใช้เขียนแผนในอนาคตได้
2. สามารถนำไปเป็นแนวทางในการทำงานชิ้นต่อไป
3. สามารถนำรูปแบบในการเขียนแผนการสอนให้ประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะสอนได้






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...
            วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำการแบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อคณิตศาสตร์ โดยให้จัดทำสื่อคณิตสตร์ 2 ชิ้นงานด้วยกัน 

ชิ้นที่ 1  อาจารย์ให้จัดทำแผนภูมิเรื่องความน่าจะเป็น

ชื้นที่ 2 เรื่องพีชคณิตและจำนวนนับ อาจารย์ให้จัดทำสื่อที่เกี่ยวข้องกับพีชคณิต มากลุ่มละ 1 ชิ้นงาน


           กลุ่มของดิฉันได้จัดรถไฟ ซึ่ง มีรูป สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม และได้ใส่ตัวเลขลงไปเพื่อเป็นการนับจำนวนรูปอีกด้วย เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจและช่วยให้เด็กจดจำตัวเลขได้ง่ายขึ้น

การนำความรู้ไปใช้...
1. สามารถนำเรื่องของแผนภูมิวงกลมไปทำกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการฝึกสอนได้
2. สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้
3. สามารถนำความรู้เรื่อง พีชคณิตไปใช้ทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30


ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย     เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นปฐมศึกษา
ซึ่งสาระมาตรฐานที่เด็กปฐมวัยจะได้รับนั้นมี

- จำนวนและการดำเนินการ
                                                      - การวัด
                                                      - เรขาคณิต
                                                      - พีชคณิต
                                                      - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                                                      - ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
เช่น การนับเลข นับจำนวนต่างๆ การเรียนรู้เลขไทย เลขอารบิก เป็นต้น

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
เช่น การเปรียบเทียบขนาดของสิ่งของ  การวัดความยาวของเชือก การดูเวลาปัจจุบัน เป็นต้น

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 
เช่น การเรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต การบอกประเภทต่าง ๆ ของรูปทรง เป็นต้น

4. มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ 

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


                               

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

    วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อคนละ 1 ชิ้น โดยอาจารย์มีรูปเรขาคณิตมาให้ คือ รูป วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ให้แต่ละคนเลือก 1 รูปเพื่อนำมาทำสื่อ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ ซึ่งดิฉันเลือกรูปสามเหลี่ยมค่ะ


สื่อของดิฉันที่ทำเสร็จแล้วค่ะ 

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำไปเป็นสื่อให้เด็กได้ทำในการฝึกสอนได้
2. สามารถสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของรูปเรขาคณิตได้

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับ
               วันนี้อาจารย์ให้เแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน
กลุ่มที่ 1  เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
               ซึ่งเด็กอายุ 3 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-5 ได้  อ่านตัวเลขฮินดูอารบิก 1-5 บอกจำนวนสิ่งต่างๆได้ไม่เกิน 5 สิ่งโดยการนับ เป็นต้น
   ส่วนเด็กอายุ 4 ปี สามารถนับปากเปล่าเพิ่มจาก 1-5 เป็น 1-10 ได้ และสามารถเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆ 2 กลุ่ม โดยแต่ได้กลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 10
   และเด็กอายุ 5 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-20 ได้  อ่านและเขียนเลยฮินดูอารบิก 1-20 ได้
กลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด 
               เด็กสามารถบอก ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน หรือเวลาได้
กลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่อง เรขาคณิต
               เด็กสามารถบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิต 3 มิติ และ รูปเรขาคณิต 2 มิติ ได้
กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่อง พีชคณิต 
               เด็กสามารถเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ได้ เช่น การต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนดให้
กลุ่มที่ 5 นำเสนอ เรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
               เด็กสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและลิ่งแวดล้อมมานำเสนอได้

การนำความรู้ไปใช้ 
               1. สามารถนำข้อมูลที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอไปประยุกต์ใช้ได้
               2. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนยกตัวอย่างประกอบการนำเสนอไปต่อยอดเพื่อนใช้สอนเด็กได้

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับ
                เรื่อง จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย
                                 - เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น รู้เกี่ยวกับคำศัพท์
                                 - เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
                                 - เพื่อให้รู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ
                                 - เพื่อให้ฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
                                 - เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ
                เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
                                 1. การสังเกต ( Observation) คือ การใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ (สัมผัสจากของจริง) โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดหมาย



                                2. การจำแนกประเภท (Classifying) คือ การแบ่งแยกสิ่งของด้วยใช้เกณฑ์ การใช้เกณฑ์ก็จะมี ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์


                               3. การเปรียบเทียบ (Comparing) คือ การที่เด็กจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เด็กต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งๆนั้น และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใข้ด้วย


                                4. การจัดลำดับ (Ordering ) คือ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป  เป็นการจัดลำดับวัตถุ หรือ เหตุการณ์


                                     5. การวัด (Measurement ) จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษณ์ ส่วนมากการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง
**การวัดของเด็กปฐมวัย ไม่ใช่หน่วยวัดมาตราฐานในการวัด แต่จะใช้การเปรียบเทียบเป็นตัววัดแทน

                                    6. การนับ (Counting) คือ เด็กจะชอบนับแบบท่องจำโดยไม่รู้ความหมาย การนับแบบท่องจำจะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น นับเพื่อนที่มาเรียน หรือ นับการมาเรียนในตัวเองต่อสัปดาห์


                                    7. รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size ) เด็กส่วนมากเข้าใจอยู่แล้ว (ไม่ค่อยมีปัญหา ) เพราะ เด็กเข้าใจในเรื่องรูปทรงและขนาด ก่อนเข้า ร.ร. อยู่แล้ว


กิจกรรมท้ายชั่่วโมง : อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น และให้วาดรูปวงกลมไม่ใหญ่มากนักให้อยู่กึ่งกลางกระดาษ และอาจารย์ได้ให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้เติมกลีบดอกไม้ให้เท่ากับจำนวนเลขที่ตัวเองได้เขียนไว้ในวงกลมค่ะ


การนำความรู้ไปใช้
         1. สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับการนับเลขได้
         2. สามารถนำไปใช้ฝึกเด็กเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ได้
         3. สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ไปให้เด็กได้ทำได้